หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

bcnpy-head 01

bcnpy-head 02

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

    • logo bcnpy thai
    • ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : สถาบันพระบรมราชชนก
    • คณะ : คณะพยาบาลศาสตร์
    • ชื่อวิทยาลัย : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ชื่อหลักสูตร
    • ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
    • ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
  • ชื่อปริญญาบัตร
    • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
    • ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.บ.
    • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Nursing Science
    • ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.N.S.
  • จำนวนหน่วยกิต
    • จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต
  • รูปแบบของหลักสูตร
    • รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2563
    • ประเภทของหลักสูตร : หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
    • ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย
    • การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยในการฟัง พูด อ่าน เขียนได้
    • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : ไม่มี เป็นหลักสูตรเฉพาะของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
    • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพียงสาขาวิชาเดียว
  • อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
    • ประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
    • ประกอบวิชาชีพพยาบาลประจำโรงเรียน/โรงงาน/สถานประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
    • ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือสาขาอื่นๆ
  • สถานที่จัดการเรียนการสอน
    • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา จัดการเรียนการสอนใน ภาคทฤษฎี ภาคทดลอง ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ห้องปฏิบัติการพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการเสมือนจริงของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยาและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ หรือสถานการณ์จริงในชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสุขภาพทุกระดับ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลในชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสุขภาพทุกระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับทุติยภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป ระดับตติยภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ และสถาบันเฉพาะทาง ในเขตสุขภาพที่ 1 ได้แก่ พื้นที่จังหวัดพะเยา เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในสังกัดหน่วยงานอื่น แหล่งฝึกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ

  • ปรัชญาการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
    • สถาบันพระบรมราชชนกมีปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” และมีอัตลักษณ์คุณธรรมตามที่สถาบันกำหนด “วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที” มีความรอบรู้ มีภูมิปัญญาในสาขาวิชาชีพ และมีสมรรถนะที่จำเป็นที่จะนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและวิกฤติที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกชั้นเรียน รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นบัณฑิตที่ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพแก่ชุมชน

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Program Learning Outcomes: PLOs)
      เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนผู้เรียนสามารถ :
      1. ประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการ ให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัย ในภาวะปกติและเจ็บป่วย
      2. ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้ กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คํานึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ
      3. แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และการปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ
      4. แสดงออกถึงทักษะการคิดขั้นสูง ในการตัดสินใจแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
      5. ประยุกต์ความรู้ระเบียบวิธีวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์ และร่วมออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ
      6. แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นํา และสามารถบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน
      7. ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและเป็นสากล
      8. ใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เหมาะสมในการเรียนรู้และปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์
      9. แสดงออกถึงการมีทักษะชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม
      10. ประยุกต์แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
  • วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Education Objectives: PEOs)
      เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้
      1. มีความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัย ในภาวะปกติและเจ็บป่วย
      2. ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาสมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
      3. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และการปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ
      4. มีทักษะการคิดขั้นสูงในการตัดสินใจแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
      5. มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ และร่วมออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ
      6. มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพ
      7. มีความสามารถในการบริหารจัดการ และบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน
      8. มีทักษะการใช้ภาษาและมีความสามารถในการสื่อสารเชิงวิชาการและเชิงวิชาชีพ
      9. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ในการเรียนรู้และการปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์
      10. มีทักษะชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม
      11. เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
      12. เป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
      13. มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ
  • ระบบการจัดการศึกษา
    • 1.1 ระบบ ระบบการจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละ 16 สัปดาห์

    • 1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน เฉพาะในการเรียนการสอนชั้นปีที่ 2 และ 3 โดยมีระยะเวลาในการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ ต่อ 1 ภาคฤดูร้อน

    • 1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค ไม่มี

  • การดำเนินการหลักสูตร
      กำหนดเวลาการคิดหน่วยกิต เป็นดังนี้
      • ภาคทฤษฎี ใช้เวลาในการสอนไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
      • ภาคทดลอง ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
      • ภาคปฏิบัติ ใช้เวลาในการฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
      • วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
        • ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน
        • ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนตุลาคม - เดือนกุมภาพันธ์
        • ภาคฤดูร้อน เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
      • วิชาทฤษฎี/ทดลอง ดำเนินการเรียนการสอนในวันจันทร์-วันศุกร์/ตามที่วิทยาลัยกำหนด
        • เวลา 08.00-16.00 น.
      • วิชาภาคปฏิบัติ ดำเนินการเรียนการสอนในวันจันทร์-วันอาทิตย์/ตามที่วิทยาลัยกำหนด
        • เวรเช้า เวลา 08.00-16.00 น.
        • เวรบ่าย เวลา 16.00-24.00 น.
        • เวรดึก เวลา 00.00-08.00 น.
  • หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
    • ระยะเวลาการศึกษาเต็มเวลา 4 ปี และจะสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 8 ภาคการศึกษาปกติและไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

    • จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต
    • โครงสร้างหลักสูตร
        หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
      •  กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร 15 หน่วยกิต
      •  กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม 6 หน่วยกิต
      •  กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 9 หน่วยกิต
        หมวดวิชาเฉพาะ 88 หน่วยกิต
      •  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 17 หน่วยกิต
      •  กลุ่มวิชาชีพ 71 หน่วยกิต
          หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต