แนวทางและระเบียบในการให้บริการ

แนวทางและระเบียบในการให้บริการ

ตามนโยบายของการให้บริการวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา  มีเป้าหมายเพื่อและให้การบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมตามความต้องการของผู้ใช้ชุมชน  และระบบสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ    ส่งเสริมการบูรณาการการบริการวิชาการกับพันธกิจของสถาบันเพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างพอเพียง  โดยมีการผนวกตัวบ่งชี้ตามเกณท์การประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาตามตัวบ่งชี้ที่                ๕.๑ ระบบกลไกการให้บริการวิชาการแก่สังคมที่มีการบูรณาการกับพันธกิจด้านการเรียนการสอน  การวิจัยของวิทยาลัยและมีการประเมินผลสำเร็จของโครงการเพื่อนำไปพัฒนาระบบบริการวิชาการต่อไป   และตัวบ่งชี้  ๕ .๒ มีกระบวนการบริการวิชาการให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยมีความร่วมมือกับชุมชน  องค์กรวิชาชีพ หรือภาคเอกชนในการให้บริการวิชาการ     จะแบ่งการดำเนินงานเป็น  ๓  ลักษณะคือ

      ๑.ให้บริการวิชาการเพื่อสังคม โดยการบูรณาการร่วมกับพันธกิจของวิทยาลัยคือการจัดการเรียนการสอน  การวิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

      ๒. ให้บริการวิชาการเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสถาบันพระบรมราชชนก  เพื่อหารายได้ให้กับสถาบัน

      ๓. เป็นวิทยากรอบรมแก่บุคลากรภายในและภายนอกของสถาบันโดยมีการดำเนินการในข้อ ๑  และ ข้อ ๒ ตามแนวทางการปฏิบัติดังนี้

๓.๑. ประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาความต้องการการให้บริการวิชาการตามวิสัยทัศน์  พันธกิจ ผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาประกอบการวางแผนการดำเนินโครงการ

๓.๒.ประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการแก่อาจารย์และข้าราชการสมัครร่วมโครงการตามความรู้ความสามารถของตนเองและการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัยต่อยอดโดยกำหนดให้อาจารย์ทุกคนต้องเป็นกรรมการในการให้บริการวิชาการ

    โดยเมื่อมีการดำเนินการเสร็จสิ้นผู้รับผิดชอบโครงการส่งสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ครอบคลุมผลการประเมินครบ  ๔ ขั้นตอนคือ  ๑ ประสิทธิภาพด้านกระบวนการขั้นตอน   ๒.ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ    ๓.ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก   และ๔.ด้านคุณภาพการให้บริการ  ให้กับกลุ่มงานบริการวิชาการเพื่อรวบรวมและประมวลผลในการพัฒนาต่อไป

๓.๓ ผู้รับผิดชอบโครงการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติผ่านรองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการวิชาการเพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการและผ่านการอนุมัติจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยาอย่างน้อยก่อนดำเนินโครงการ ๑ เดือน  เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้วโครงการใหนที่ต้องการขอหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องจากสภาการพยาบาลให้ดำเนินการดังนี้

                      ๑) ทำหนังสือราชการนำส่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์สภาการพยาบาลอย่างน้อยก่อนดำเนินโครงการ  ๑ เดือน พร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้

- โครงการที่ผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว  ๑ ชุด

- ตัวอย่างวุฒิบัตร   ๑ ฉบับ

- ประวัติวิทยากร   ๑ ชุด

- แผ่น  CD บันทึกข้อมูล  โครงการ  วุฒิบัตร   และประวัติวิทยากร  ๑ แผ่น

                     ๒) เตรียมค่าธรรมเนียมการขอหน่วยคะแนน  ๑-๒ วัน  ๕๐๐บาท   ๓-๕ วัน  ๑,๐๐๐ บาทชำระเมื่อดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว

๓.๔.ส่งหนังสือเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการตามแหล่งต่างๆ

              ๓.๕.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน

              ๓.๖.ดำเนินโครงการตามที่ระบุใว้ในขั้นตอนการดำเนินโครงการ

              ๓.๗. ประเมินผลการดำเนินงานตามแบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ

              ๓.๘.สรุปผลการดำเนินโครงการส่งฝ่ายบริการวิชาการ  ๑ ชุดภายหลังการดำเนินงานเสร็จอย่างน้อย  ๒ สัปดาห์